280517170_5423565484322127_7906120031631737384_n

บริการอยู่ไฟและนวดเปิดท่อน้ำนมด้วยสมุนไพรสด
โดยพี่หวาน ยินดีให้บริการค่ะ สนใจบริการติดต่อ
065-090-9540, 094-927-5554
ขอบคุณที่ไว้วางใจและเลือกใช้บริการ
“อยู่ไฟคุณยายเดลิเวอรี่”

“เรามุ่งมั่นการฟื้นฟูสุขภาพหลังคลอดและป้องกันภาวะแทรกซ้อนในอนาคต
ด้วยทีมงานที่ผ่านการคัดสรร มีประสบการณ์ มากกว่า 10 ปี”

สาระน่ารู้

IMG_1726

สาระน่ารู้

หลายคนอาจสงสัยการนวดกระตุ้นน้ำนมช่วงตั้งครรภ์ทำได้หรือไม่ จากการศึกษาพบว่า การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เป็นขบวนการต่อเนื่องจากการตั้งครรภ์ และการคลอด ร่างกายของเรามีการเตรียม อย่างเป็นลำดับโดยไม่รอเตรียมการอื่น และอย่าลืมว่าการกระตุ้นหัวนมมากเกินไป จะมีผลไปกระตุ้นการบีบตัวของมดลูก อาจพาไปสู่การคลอดก่อนกำหนดได้ การนวดกระตุ้นระหว่างการให้นมลูกเป็นอีกสิ่งที่จะช่วยผ่อนคลายก่อนให้นมลูก

คุณแม่สามารถตรวจเต้านมง่าย ๆ ด้วยตัวเอง โดยการใช้นิ้วชี้กับนิ้วโป้งจับหัวนม ถ้าสามารถจับได้แสดงว่าปกติ แต่ถ้าเป็นหัวนมบอดเวลาจับหัวนมจะบุ๋มเข้าไป

การแก้ไขหัวนมสั้น จะมีวิธีการนวดให้หัวนมคลายออกมา เรียกว่า Hoffman’s Maneuver โดยการวางปลายนิ้วโป้งลงที่ขอบลานนม ในทางทิศตรงกันข้ามกดลงแล้วยืดผิวหนังออก ทางด้านข้างทั้งสองข้างพร้อม กัน แล้วปล่อยให้หัวนมคลายตัว ทำซ้ำสัก 4-5 ครั้ง หลังอาบน้ำ เช้า – เย็น

เทคนิคการดูแลเต้านมอย่างถูกวิธี
1. อาบน้ำทำความสะอาดตามปกติ ซับให้แห้งเสมอ
2. ไม่จำเป็นต้องใช้ครีมทาหัวนม เพราะจะไปอุดตันต่อมน้ำมันที่ลานนม การใช้โลชั่นหรือครีมบำรุงผิว เพื่อเพิ่มความชุ่มชื้น ของผิวสามารถทำได้ แต่อาจไม่จำเป็นถ้าผิวมัน
3. หลีกเลี่ยงการขัดถูที่หัวนม รวมถึงการดึง เพื่อกำจัดไขมันบนหัวนม เพราะอาจนำไปสู่การเป็นแผล และ การอักเสบติดเชื้อได้
4. ถ้าเต้านมใหญ่มาก ควรสวมยกทรงขนาดพอดี เพื่อประคองเต้านม แต่ถ้าเต้านมเล็กอาจไม่จำเป็น ต้อง สวมยกทรงที่ดีไม่ควรหลวม หรือคับจนเกินไป และไม่ควรมีโครงเหล็ก
5. ถ้ามีน้ำนมซึมออกมา ควรซับให้แห้ง อาจใช้แผ่นน้ำนมซับหรือผ้าขนหนู ที่ทำความสะอาดได้ง่าย

เพราะนมแม่สำคัญที่สุด คุณแม่ส่วนใหญ่จะเลี้ยงลูกน้อยด้วยนมแม่ นอกจากจะช่วยให้ลูกน้อยเติบโตมาพร้อมกับภูมิคุ้มกันเพื่อให้ร่างกายแข็งแรงแล้ว ยังช่วยเพิ่มความรักและความผูกผันระหว่างแม่และลูก สำหรับคุณแม่ที่ต้องไปทำงาน ก็ไม่ต้องวิตกกังวลว่าจะมีปริมาณน้ำนมเพียงพอที่จะเลี้ยงลูกน้อยหรือไม่ ฉะนั้นเรามาทำ stock นมกันเถอะค่ะ

การปั้มน้ำนมเพื่อทำสต็อก คุณแม่จะต้องรักษาความสะอาดตั้งแต่มือ ที่ปั้ม ภาชนะเก็บน้ำนม ขวด จุกนม เพราะเชื้อโรคต่างๆจะทำให้น้ำนมเสื่อมคุณภาพและเก็บได้ไม่นาน ทั้งยังเป็นอันตรายต่อลูกน้อยอีกด้วย นอกจากคุณแม่จะต้องดูแลเรื่องความสะอาดแล้ว การพักผ่อนที่เพียงพอและการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ก็เป็นสิ่งสำคัญ และก่อนการปั้มนมคุณแม่ควรดื่มน้ำอุ่น เพื่อกระตุ้นให้ร่างกายหลั่งน้ำนมได้ดี เมื่อปั้มน้ำนมออกจากเต้านมทั้งสองข้างแล้ว คุณแม่ควรดื่มน้ำอุ่นๆตามอีกครั้งหนึ่ง และควรปั้มนมทุกๆ 2 ชั่วโมงพร้อมจดบันทึกไว้ เพียงเท่านี้ลูกน้อยก็จะมีน้ำนมไว้กินอย่างเพียงพอค่ะ

1. การบีบด้วยมือ (Hand Expression)
2. การใช้ที่ปั้มนม (Breast pomp)
3. การใช้เครื่องปั้ม (Electric pomp)

การบีบด้วยมือ (Hand Expression) เป็นวิธีที่เหมาะที่สุด เพราะใกล้เคียงกับการดูดนมของลูกน้อยมากที่สุด จึงสามารถใช้ร่างกายผลิตน้ำนมได้มากกว่าการใช้ที่ปั้มและเครื่องปั้มนม และคุณแม่ยังสามารถใช้มือหมุนไปรอบๆเต้านมเพื่อบีบน้ำนมออกจากเต้าจนเกลี้ยงได้ แถมยังประหยัดและสะดวกอีกด้วย และที่สำคัญต้องไม่ลืมเรื่องความสะอาด มือของคุณแม่และภาชนะที่เก็บน้ำนมต้องสะอาดด้วยเช่นกัน

คุณแม่ควรแบ่งเก็บน้ำนมเป็นถุงๆ กะปริมาณให้เพียงพอต่อการกิน 1 มื้อ และควรระบุเวลา วันที่ เดือน กำกับไว้ทุกถุง เพื่อจะได้นำน้ำนมที่ปั้มไว้ก่อนมาใช้ได้อย่างถูกต้อง

ส่วนการเก็บน้ำนม เพื่อให้คงคุณค่าได้นานให้เก็บไว้ในช่องแช่แข็ง เวลาจะใช้ให้นำออกมาไว้ในช่องธรรมดา 1 คืน เพื่อให้น้ำนมค่อยๆละลาย เวลาจะอุ่นน้ำนมให้นำถุงนมมาแกว่งในอ่างน้ำอุ่นช้าๆ เพื่อให้ไขมันที่แยกตัวออกมานั้นผสมเป็นเนื้อเดียวกัน ไม่ควรอุ่นหรือละลายในไมโครเวฟ เพราะจะทำให้คุณค่าทางอาหาร ภูมิต้านทานที่มีอยู่ในนมแม่สูญเสียไป น้ำนมที่ละลายแล้วควรใช้ให้หมดภายใน 24 ชั่วโมง และเมื่อละลายนมที่แช่แข็งแล้วก็ไม่ควรนำกลับมาแช่แข็งอีก

- มากกว่า 25 องศาเซลเซียส 1 ชั่วโมง
- น้อยกว่า 25 องศาเซลเซียส 4 ชั่วโมง
- เก็บในกระติกน้ำแข็ง 1 วัน
- เก็บในตู้เย็นช่องธรรมดา 2-3 วัน
- เก็บในตู้เย็นช่องแช่แข็ง (1 ประตู) 2 สัปดาห์
- เก็บในคู้เย็นช่องแช่แข็ง (2 ประตู) 3 เดือน

การอุ้มลูกน้อยที่ถูกวิธีจะช่วยให้ทั้งคุณแม่และลูกน้อยผ่อนคลาย ไม่เมื่อย และน้ำนมของคุณแม่ไหลได้คล่องขึ้นค่ะ

• ท่านอนขวางบนตัก(เมื่ออยู่ในท่านั่ง) :: สำหรับคุณแม่ทั่วไป
1.หาหมอนช่วยพยุงหลัง รองใต้แขนและวางบนตักเพื่อให้เกิดความสบาย เอาลูกนอนในท่าตะแคง 2.ท้องของลูกแนบชิดกับท้องของคุณแม่ ใบหน้าของลูกเงยขึ้นจนสามารถมองเห็นหน้าคุณแม่ (อ้างอิงจาก: หนังสือ First Year of Life)

• ท่านอน :: สำหรับคุณแม่เพิ่งคลอดบุตรหรืออ่อนเพลีย
1.คุณแม่และลูกนอนในท่าตะแคงหันหน้าเข้าหากัน โดยให้ศีรษะของคุณแม่อยู่สูงกว่าลูก
2.โอบตัวของลูกให้แนบชิดกับคุณแม่ โดยให้หัวนมอยู่บริเวณปากของลูกพอดี (อ้างอิงจาก: หนังสือ First Year of Life)

• ท่าฟุตบอล (เมื่ออยู่ในท่านั่ง) :: สำหรับคุณแม่ที่มีลูกแฝด
1.หาหมอนมาวางซ้อนกันด้านข้างลำตัวของคุณแม่ ให้ความสูงของหมอนเมื่อวางลูกแล้ว จะอยู่ที่ระดับเต้านมของคุณแม่
2.วางลูกบนหมอนโดยจัดให้ลูกนอนในท่ากึ่งตะแคงกึ่งหงาย ปลายเท้าชี้ไปด้านหลัง
3.ใช้ฝ่ามือประคองท้ายทอยและหลังลูกเอาไว้ (อ้างอิงจาก: หนังสือ First Year of Life)

คุณแม่มือใหม่ที่อยู่ในช่วงให้นมลูก ต้องระวัง และใส่ใจเรื่องอาการกิน ว่าอาหารและยาที่กินเข้าไปในร่างกายนั้น จะมีส่งผลโดยตรงหรือทางอ้อมคุณภาพของน้ำนม รวมถึงการใช้ยาที่อาจส่งผลข้างเคียงสู่ลูกได้ การดูแลอาการคุณแม่หลังคลอดด้วยวิธีธรรมชาติจึงเหมาะสมสำหรับคุณแม่ในช่วงนี้

• อาการหัวนมแตก / มีเลือดออก
- ใช้น้ำผึ้งทาบริเวณหัวนม และปล่อยทิ้งไว้ให้แห้ง น้ำผึ้งมีสรรพคุณให้ความชุ่มชื้น และต้านเชื่อแบคทีเรีย หรือผสมน้ำผึ้งกับผงขมิ้นให้เข้ากัน นำมาทาหัวนมที่แตกได้

• อาการเจ็บเต้านม
- ประคบเต้านมด้วยน้ำอุ่น โดยแช่ผ้าขนหนูผืนเล็กๆ ในน้ำอุ่น (ผสมเกลื่อลงไป 1 ช้อนโต๊ะ) บีบน้ำออกพออุ่นหมาด ๆ ประคบนวดที่เต้านม
- นวดเต้านมด้วยน้ำมันอุ่น (ควรใช้น้ำมันละหุ่ง) โดยนวดวนเป็นวงกลมรอบเต้านม เว้นบริเวณหัวนม เนื่องจากน้ำมันละหุ่งมีสรรพคุณเป็นยาระบายอาจทำให้ลูกท้องเสียได้

• อาการน้ำนมน้อย
- กินผักใบเขียว ควรกินอาหารที่ประกอบด้วยผักใบเขียวเข้ม เช่นผักโขม คะน้า ดอกกุยช่าย ผักบุ้ง ขิงสด เช่น ผัดขิ่ง แกงเลียงหัวปลี
- ดื่มนมอุ่น อย่างน้อยวันละ 3 ถ้วยเพื่อช่วยกระตุ้นน้ำนม
- ดื่มน้ำสมุนไพรต่าง ๆ เช่น ขิ่ง ความอุ่นจะช่วยทำให้มีน้ำนมมากขึ้น

• อาการน้ำนมมาก
- ดูความต้องการของลูก ว่าหิวหรือไม่ การไหลของน้ำนมนั้นสัมพันธ์กับการหิวของลูก
- หากเกิดนมคัดแต่ลูกยังไม่อยากดูด ให้ใช้มือบีบหัวนมหรือปั๊มออก เก็บนมแช่ไว้ในตู้เย็นช่องปกตเจะแช่นมเก็บไว้ได้ 1 วัน และเก็บได้นาน 7 วันหากเก็บนมในช่องแช่เข็ง แต่ไม่แนะนำให้เก็บไว้ใน ช่องแช่แข็งเพราะจะทำให้นมเสียคุณค่า หากน้ำนมมีมากคุณแม่อาจนำมาใช้ล้างหน้า เพราะน้ำนมมีคุณค่า ในการบำรุงผิว ทำให้ผิวหน้าชุ่มชื้น
- ใส่แผ่นซับน้ำนมไว้ เพื่อป้องกันการเปรอะเปื้อน และควรใช้แผ่นซับน้ำนมที่ทำจากฝ้าย ซึ่งสามารถชักทำความสะอาดและนำมาใช้ซ้ำได้อีก
- แป้งถั่วเขียวผสมน้ำ เป็นครีมข้น ปิดไว้บริเวณหัวนมเพื่อกันไม่ให้นมไหล

• อาการปวดเกร็งที่บ่าหลัง ส่วนล่างและข้อต่อ
คุณแม่ที่ต้องอุ้มลูกหรือให้นมลูก อาจเกิดอาการเกร็งที่บ่า หลังส่วนล่าง หรือบั้นเอวได้ ลองใช้วิธีนี้ดู ออกกำลังกายเบา ๆ เช่น การหมุนคอ บ่า และเชิงกราน ยืดขา หมุนข้อมือ ข้อเท้า หรือออกกำลังกายแบบเบาๆ เช่น โยคะ

- การนวดตัวด้วยน้ำมันอุ่น สามารถนวดได้ด้วยตัวเอง จะช่วยลดการปวดเกร็งได้
- การแช่ตัวในอ่างอาบน้ำ เป็นการผ่อนคลายการปวดเกร็งของกล้ามเนื้อได้ดี โดยผสมนำมันที่สกัดจากธรรมชาติ เช่นน้ำมันกานพลู ลาเวนเดอร์ ยูคาลิปตัส ขิง ลงไป 2-3 หยด ในน้ำอุ่น
- การดื่มนำสดที่ใส่กี เป็นวิธีที่ช่วยเพิ่มความหล่อลื่นให้กับข้อต่อ หรือดื่มน้ำอุ่นที่เติมน้ำมันงา หรือน้ำมันมะกอกลงไป 1 ช้อนโต๊ะ น้ำมันจะช่วยหล่อลื่นข้อต่อ แคลเซียมจากนมยังช่วยให้กระดูกแข็งแรง

• อาการท้องผูก
- ดื่มน้ำอุ่น คุณแม่หลังคลอด ควรดื่มน้ำอุ่นให้พอเพียง และดื่มชาสมุนไพร
- กินมะละกอสุก (ที่ไม่แช่เย็น) ในตอนเช้า และกินกล้วยสุกในระหว่างวัน เนื่องจากผลไม้สองชนิดนี้มีสรรพคุณช่วยระบาย - ดื่มนมอุ่นที่ผสมกี โดยใส่กี 1 ช้อนชาเพื่อหล่อลื่นระบบย่อยอาหาร ช่วยขับถ่ายได้ง่ายขึ้น
- กินน้ำมันละหุ่ง โดยกินแบบอุ่น ๆ 1 ช้อนชา เพื่อช่วยระบาย

• อาการผมร่วง
คุณแม่หลายคนพบกับปัญหาผมร่วงในช่วง 3 - 4 เดือนหลังคลอด เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน บวกกับร่างกายต้องการวิตามินและแร่ธาตุต่าง ๆ ในการสร้างน้ำนม ในทางอายุรเวทเชื่อว่าปัญหาสุขภาพที่เกิดขึ้นกับเล็บและผม บงบอกถึงความแข็งแรงของกระดูก จึงควรเสริมแร่ธาตุ ที่ช่วยบำรุงกระดูก เช่น แคลเซียม ฟอสฟอรัส สังกะสี แมกนีเซียม
- ดื่มนมสดอย่างน้อยวันละ 2 ถ้วย จะดียิ่งขึ้นหากดื่มนมสดผสมกี หรือผสมอัลมอนด์
- การกินงาขาว 1 กำมือ ในตอนเช้า จะช่วยบำรุงผม และต้านผมร่วงได้
- ดื่มน้ำมะพร้าว เพราะมีส่วนช่วยบำรุงเส้นผม แต่ควรดื่มหลังไปแล้ว 40 วัน หรือหลังจากช่วงพักฟื้นหลังคลอด เนื่องจากน้ำมะพร้าวทำให้ร่างกายเย็น

• อาการเป็นตะคริวที่ขา
เกิดขึ้นจากภาวะขาดแร่ธาตุ เช่น แมกนีเซียม แคลเซียม และสังกะสี หรือนั่งอยู่กับที่นานจนเกินไป
- แช่น้ำเกลื่อ เตรียมน้ำอุ่นใส่อ่างเติมเกลือสมุทร 1 กำมือ เกลือจะช่วยดูดซึมกรดแลกติกจากกล้ามเนื้อ แช่เท้าลงไปทิ้งไว้จนน้ำเย็น เช็ดเท้าให้แห้ง นวดฝ่าเท้าและขาด้วย
- น้ำมันงาอุ่น ๆ กดที่ฝ่าเท้าและกลางน่อง
- หนุนเท้าให้สูง โดยนอนลงและยกเท้า ให้สูงขึ้นจากพื้น เพื่อให้เลือดไหลเวียนไปเลี้ยงกล้ามเนื้อได้ดีขึ้น
- กินแคลเซียมและโปรตีนเสริมกล้ามเนื้อ เช่น นม ไข่ โยเกิร์ต อัลมอนด์ และงาขาว

• อาการปวดประจำเดือน
หลังการคลอดลูก อาการปวดประจำเดือนจะมีมากขึ้น เกิดจากภาวะที่ไม่สมดุลของชีวภาพ วาตะ(อากาศ) ซึ้งเป็นพลังเย็นควรปรับความสมดุลเพื่อให้ร่างกายอบอุ่น โดย
- ดื่มชาสมุนไพร เช่น ขิง ชงด้วยน้ำร้อน เติมรสหวานด้วยน้ำผึ้ง ดื่มตอนอุ่น ๆ
- นวดด้วยน้ำมันละหุ่ง โดยใช้น้ำมันละหุ่งอุ่น ๆ นวดบริเวณหน้าท้องที่ปวด จนอาการที่ดีขึ้น อาการปวดหัว
- ดื่มน้ำขิง/ น้ำอุ่น เพื่อช่วยในลดความเย็นจากการปวดศีรษะ
- ดื่มน้ำอุ่นที่มีส่วนผสม ของใบสะระแหน่
- หยุดพฤติกรรม เช่น เดิน นั่ง อ่านหนังสือ แล้วนอนราบใช้มือทั้งสองถูกันให้อุ่นแล้วนำมาปิดตา
- ปล่อยให้ หาว เต็มที่

วันนี้ จะขอคุยเรื่องสมุนไพรยอดฮิต! ที่ดูแลหัวใจ....

โรคหัวใจ? คร่าชีวิตผู้คนเป็นอันดับต้นๆของคนไทย สาเหตุมาจากพฤติกรรมและการกินที่ไม่ถูกต้อง ฉะนั้นมารู้จักสมุนไพรที่ช่วยป้องกันโรคหัวใจกันเถอะค่ะ

1. กระเทียม : เป็นสมุนไพรช่วยบำรุงหัวใจอันดับต้นๆ โดยเฉพาะกระเทียมกลีบเล็ก ช่วยลดการอุดตันของไขมันในหลอดได้ถึงร้อยละ 50
2. พริก : ทำให้การไหลเวียนของเลือดสมดุล บรรเทาอาการใจสั่น แต่ควรกินในปริมาณที่เหมาะสม
3. ขิง : เป็นสมุนไพรรสเผ็ดร้อน ช่วยกระตุ้นการไหลเวียนของเลือดและช่วยลดการก่อตัวของไฟบริน (fibrin ) ซึ่งเป็นโปรตีนชนิดหนึ่ง ที่ทำให้เลือดแข็งตัวหรือจับตัวเป็นลิ่มเลือด ที่จะไปอุดตันในหลอดเลือด
4. ใบแปะก๊วย : ช่วยกระตุ้นการไหลเวียนของเลือดในหลอดแดง หลอดเลือดดำ และหลอดเลือดฝอย ทั้งช่วยลดการเกิดลิ่มเลือดอุดตันได้

บริการอยู่ไฟและนวดเปิดท่อน้ำนมด้วยสมุนไพรสด
 065-090-9540, 094-927-5554

โดยพี่หวาน ยินดีให้บริการค่ะ

โปรแกรมการอยู่ไฟหลังคลอด

บริการนวดเปิดท่อน้ำนม

นัดหมายบริการ